กิจการนานมา จากห้างฝรั่งสู่พิพิธภัณฑ์

2455

ห้างยอนแซมสันแอนด์ซัน

2469

ห้างสุธาดิลก

2476

กรมโยธาเทศบาล
หรือกรมโยธาธิการ

2544

พิพิธภัณฑ์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

2455

ห้างยอนแซมสันแอนด์ซัน

2469

ห้างสุธาดิลก

2476

กรมโยธาเทศบาล
หรือกรมโยธาธิการ

2544

พิพิธภัณฑ์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

2455

อาคารก่อสร้างแล้วเสร็จ ห้างยอนแซมสันแอนด์ซัน ทำสัญญาเช่าอาคาร 15 ปี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน โดยเสียค่าเช่าต่อเดือน 1,150 บาท เพื่อดำเนินกิจการขายผ้าฝรั่ง และตัดชุดสูท สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จำพวกเครื่องเรือน เครื่องประดับ

2462

จดทะเบียนเป็น “บริษัท ยอนแซมสันแอนด์ซัน จำกัด” สินใช้ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม โดยมีนายเฟรดริก แซมสัน ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ และนาย เอช.โอ ซอนเดอร์ส ทำหน้าที่ผู้จัดการ

2464

ขออนุญาตกรมพระคลังข้างที่ต่อเติมเปลี่ยนแปลงอาคาร เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ โดยขอต่อตัวอาคารให้ติดกับโกดัง และทำประตูที่ได้ต่อขึ้นใหม่จากตัวตึกและโกดังผนังที่ต่อทำด้วยอิฐ หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์ ทาสีให้เป็นสีเดียวกับอาคารที่เหลือ โดยทางห้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

2467

ประสบปัญหาการเงิน

2468

ขอเลิกสัญญาการเช่าอาคาร เมื่อวันที่ 14 เมษายน

2469

นับว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม
และส่งมอบอาคารคืนแก่กรมพระคลังข้างที่

2469

หลวงไมตรีวานิช (เฉลิม ยอดมณี) เจ้าของ และนาย ยูมินจู บี. เอ ผู้จัดการ ทำสัญญาเช่าเมื่อ 15 ตุลาคม 2469 เป็นที่ทำการห้างสุธาดิลก นำเข้าจำหน่ายจากต่างประเทศ โดยเฉพาะวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ รวมทั้งเครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องใช้ โรงสี เครื่องดื่ม รถสามล้อ เครื่องใช้ในครัวเรือน ตะเกียงเจ้าพายุ โคมรั้ว เครื่องแก้ว

2473

ทำสัญญาเช่าอาคารใหม่กับกรมพระคลังข้างที่สัญญาเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2473 ถึง 30 กันยายน 2475

ภาพถ่ายแสดงตำแหน่งที่ตั้งอาคารพิพิธภัณฑ์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ. ๒๕๔๑
ที่มา: กรมแผนที่ทหาร

2476

ก่อนเข้าใช้งาน พระพิศาลสุขุมวิท (ประสบ สุขุม) อธืบดีกรมโยธาเทศบาล มีหนังสือขอเข้าไปตรวจดูสภาพภายในอาคาร และขออนุญาตต่อเติมดัดแปลงอาคาร ส่วนโกดังจากชั้น 2 ชั้น เป็น 3 ชั้น โดยใช้ไม้ล้วนและใช้หลังคาเดิม

2478

พระพิศาลสุขุมวิท (ประสบ สุขุม) อธิบดีกรมโยธาเทศบาล ขอทำสัญญาเช่า เมื่อ 10 สิงหาคม 2478 เพื่อใช้เป็นที่ทำการอาคารสำนักงานของกรมโยธาเทศบาล

2479

ขออนุญาตสำนักพระคลังข้างที่ ขยายบันไดใหญ่ที่ใช้ขึ้นชั้นกลางตรงทางเข้าด้านหน้าอาคาร โดนขยายบันไดแล้วแยกออกซ้ายขวาตามสภาพที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน

2514

กรมโยธาธิการขอสร้างอาคารที่ทำการเพิ่มขึ้นด้านหลัง เพื่อรองรับการขยายตัวของหน่วยงานเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 6 ชั้น และมีสะพานเหล็กเชื่ออาคารหลังเก่ากับหลังใหม่เข้าด้วยกันกรมโยธาธิการขอสร้างอาคารที่ทำการเพิ่มขึ้นด้านหลัง เพื่อรองรับการขยายตัวของหน่วยงาน เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 6 ชั้น และมีสะพานเหล็กเชื่อมอาคารหลังเก่ากับหลังใหม่เข้าด้วยกัน

2538

สัญญาเช่ากรมโยธาธิการยังคงใช้เป็นสถานที่ทำงานของกรมโยธาธิการ กรมศิลปกรขึ้นทะเบียน กำหนดเขตที่ดินและอาคารเป็นพื้นที่โบราณสถาน “กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 59 ง จากทะเบียนโบราณสถานทั่วราชอาณาจักร เช่ม 3 พ.ศ. 2534 – 2539”

2541

ย้ายไปยังที่ทำการแห่งใหม่ ถนนพระรามหก

2542

กรมโยกาธิการบูรณะอาคาร ดำเนินงานโดยบริษัท ศิวกรการช่าง ควบคุมโดยนักโบราณคดี กรมศิลปากร รวมเวลาดำเนินการ 540 วัน มีการรื้อหลังคาเดิมออกทั้งหมดเพื่อเสริมความแข็งแรงในส่วนโครงสร้างไม้ ติดตั้งแปไม้ปูแผ่นสะท้อนความร้อน มุงกระเบื้องคอนกรีตลอนโค้งรางน้ำโดยรอบเป็นแผ่นสแตนเลสพับขึ้นรูป ซ่อมลวดลายปูนนั้น วัสดุปูพื้นส่วนที่เสียหายเสริมทดแทนด้วยวัสดุชนิดเดียวกัน และเพื่อให้เหมาะกับการติดตั้งระบบปรับอากาศจึงมีการติดตั้งประตูหน้าต่างเพิ่มภายใน ด้วยบานกรอบไม้สักแบ่งลูกฟักตามลักษณะประตูหน้าต่างเดิมแต่เป็นกระจกใสให้กลมกลืนกับช่องเปิดเดิมมากที่สุด รวมทั้งรื้อถอนอาคารด้านถนนหลานหลวงออกทั้งหมด

2544

สถาบันพระปกเกล้าเช่าอาคารจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จากการมอบสิทธิต่อโดยกรมโยธาธิการ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม เพื่อใช้เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และดำเนินการปรับปรุงตกแต่งภายในเพื่อติดตั้งนิทรรศการ โดยออกแบบบริษัท สถาปนิก ซิริน จำกัด และตกแต่งภายใน จัดนิทรรศการโดย บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ซึ่งนิทรรศการจัดแสดงเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7

2545

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศขณะนั้น) เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 7 ธันวาคม

ชมนิทรรศการที่กำลังจัดแสดงทางพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง : kpi-vmuseum.com

ถนนพระสุเมรุ

ป้อมพระสุเมรุในอดีต

     ถนนพระสุเมรุ เป็นถนนที่อยู่ในย่านสำคัญ ด้วยมีชุมชนหลายแห่ง สถานที่สำคัญทางศาสนา และเป็นย่านการค้าแสนคึกครื้นมาตั้งแต่อดีต จุดเริ่มต้นของถนนอยู่ที่ป้อมพระสุเมรุ ติดกับถนนพระอาทิตย์ พาดยาวเลียบคลองบางลำพูไปจนถึงถนนราชดำเนินกลางบริเวณแยกผ่านฟ้าลีลาศ และยังตัดผ่านไปยังถนนหลายสาย เช่น ถนนพระอาทิตย์ ถนนจักรพงษ์ ถนนตะนาว ถนนสามเสน ถนนประชาธิปไตย และถนนดินสอ 

     ชื่อถนนนั้นเป็นไปตามชื่อตามป้อมพระสุเมรุที่อยู่ต้นสาย ป้อมพระสุเมรุ เป็นหนึ่งในสิบสี่ป้อมที่สร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และยังเป็นป้อมที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับป้อมมหากาฬ

พระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เนื่องในโอกาสวันพืชมงคล วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2509

งาน นาเชอนนัล เอกซฮิบิชัน (National Exhibition) ในคราวฉลองพระนครครบรอบ 100 ปี พ.ศ. 2425 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งานฉลองรัฐธรรมนูญ ณ สนามหลวง พ.ศ.2481

มณพิธีท้องสนามหลวง

     สนามหลวง หรือเรียกกันตามชื่อเดิมว่า ทุ่งพระเมรุ เนื่องจากใช้เป็นพื้นที่สำหรับพระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในช่วงรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 การใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ในการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เท่านั้น เช่น พิธีแรกนาขวัญ พระราชพิธีพืชมงคล พระราชพิธีพิรุณศาสตร์ (พิธีขอฝน) และการทำนาหลวง เป็นต้น

     ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สนามหลวงได้รับการปรับปรุงให้มีพื้นที่กว้างขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในแง่ของการใช้งานที่จะเกิดขึ้นจากอิทธิพลของตะวันตกที่เริ่มเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้กิจกรรมที่เกิดขึ้นบนท้องสนามหลวงมีความหลากหลาย ค่อย ๆ เปิดรับให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ประกอบไปด้วย งานฉลองพระนครครบรอบ 100 ปี ที่มีกระบวนพยุหยาตราอันยิ่งใหญ่ การจัด “นาเชอนนัล เอกซฮิบิเชน (National Exhibition)” เป็นการแสดงสินค้าที่ผลิตในประเทศสยามให้ประชาชนเข้าชมเป็นเวลา 3 เดือน และการตั้งโรงทานรอบสนามหลวง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการใช้สนามหลวงเป็นที่สวนสนามและการซ้อมรบของเหล่าเสือป่าและลูกเสือ สืบเนื่องมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ยังคงมีการจัดงานพระราชพิธีบนท้องสนามหลวงเรื่อยมา แม้ว่าบางงานจะมิได้ใหญ่โตเอิกเกริก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศขณะนั้นก็ตาม ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จึงเป็นจุดเปลี่ยนของสนามหลวงที่เปิดรับประชาชนอย่างเต็มกำลังในขณะเดียวกัน ยังคงเป็นพื้นที่ของพระราชพิธีและรัฐพิธีอยู่แสดงให้เห็นถึงการใช้พื้นที่ร่วมกัน แม้การ
เปลี่ยนแปลงของสนามหลวงในปัจจุบัน จะทำให้ภาพของประชาชนเลือนรางไปก็ตาม

สนามหลวง: ในฐานะพื้นที่สาธารณะของประชาชน

(1) การเล่นว่าว การแข่งขันและกิจกรรมยามว่างสำหรับประชาชน

(2) ตลาดนัดสนามหลวง ส่วนที่จำหน่ายต้นไม้และพืชพันธุ์ต่าง ๆ

(3) ตลาดนัดสนามหลวง มุมหนังสือสำหรับนักอ่าน

(4) สนามหลวงในฐานะที่พักพิงของใครหลาย ๆ คน

     ถึงแม้ว่าสนามหลวงจะไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นสวนสาธารณะ แต่ลักษณะของสนามหลวงสามารถตอบโจทย์กิจกรรมได้หลายรูปแบบ เนื่องจากมีพื้นที่กว้างใหญ่ อยู่ใกล้สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยวในพระนครภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 บทบาทของสนามหลวงเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด มีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประชาชนมากขึ้นจากเดิม อาทิ ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สนามหลวงรับบทเป็นพื้นที่สาธารณะ ด้วยการใช้เป็น “ตลาดนัดสนามหลวง” ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายให้มีตลาดนัดทุกจังหวัดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และเป็นพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้จัดเวทีปราศรัยแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เรียกว่า “ไฮปาร์ก” หลังจากนั้นถึงแม้ว่าตลาดนัดจะถูกยกเลิกไปในสมัยของพล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ สนามหลวงกลายมาเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน มีกิจกรรมเกิดขึ้นมากมาย เช่น การเป็นสวนสาธารณะ การเล่นกีฬา และสิ่งที่ไม่ขัดกับมุมมองของรัฐ มีหลายครั้งที่รัฐพยายามจัดโครงการปรับปรุงพื้นที่ เป็นเหตุให้กิจกรรมเหล่านั้นของประชาชนถูกยกเลิกไป แต่นั่นไม่ได้ทำให้ความเป็นพื้นที่สาธารณะของสนามหลวงหายไป ในทางกลับกัน นี่ทำให้ประชาชนหลายคนรู้จักและรับรู้ถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้

ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์

สนามม้าสำหรับคนไทย ที่เหลือไว้เพียงชื่อ
     ราชตฤณมัยสมาคม หรือ เรียกกันโดยทั่วไปว่า สนามม้านางเลิ้ง เป็นสนามแข่งม้าและสปอร์ตคลับตั้งอยู่บนถนนพิษณุโลก บริเวณย่านนางเลิ้ง เมื่อ พ.ศ. 2456 พระยาประดิพัทธภูบาลและพระยาอรรถการประสิทธิ์ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตและที่ดินบริเวณตำบลนางเลิ้งจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อสร้างสนามม้าสำหรับคนไทย และพระองค์เสด็จฯ เปิดสนามม้า เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2459 พระราชทานนามว่า ราชตฤณมัยสมาคม
     ภายในราชตฤณมัยสมาคมฯ มีสนามแข่งม้าและมีพื้นที่สำหรับการบำรุงพันธุ์ม้าโดยเฉพาะ เนื่องจากม้าส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ต่อมามีการเพิ่มและต่อเติมพื้นที่สำหรับกีฬาชนิดอื่น ๆ เช่น บิลเลียด กอล์ฟ เทนนิส และฟุตบอล เป็นต้น กลายเป็นที่พบปะสังสรรค์และสปอร์ตคลับของเหล่าเจ้านายในสมัยนั้น การแข่งม้าถือเป็นทั้งความบันเทิงและการพนันอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง แต่ในยุคสมัยต่อมาความนิยมก็ลดลงไป
     ปัจจุบัน ราชตฤณมัยสมาคมฯ ที่มีอายุกว่า 102 ปี ปิดตัวลง เนื่องจากหมดสัญญาการเช่าพื้นที่ โดยการแข่งม้าครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2561

ทำเนียบรัฐบาล

“นายกรัฐมนตรีแถลงหลังการประชุม ครม. ณ ตึกไทยคู่ฟ้า”
     ทำเนียบรัฐบาล เป็นสถานที่ราชการสำคัญของคณะรัฐบาล ทั้งที่ทำงานของนายกรัฐมนตรี
รองนายกรัฐมนตรี ผู้ที่มีหน้าที่ในสำนักนายกรัฐมนตรี และกรมกองอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในบางโอกาสใช้เป็นสถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และจัดงานสโมสรสันนิบาตเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่เดิมบริเวณทำเนียบรัฐบาลเป็นบ้านของ พลเอก พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) ข้าราชบริพารคนสำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกว่า “บ้านนรสิงห์” ก่อนจะเปลี่ยนเป็นทำเนียบรัฐบาลในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม พ.ศ.2484 ภายในพื้นที่ประกอบด้วย ตึกไทยคู่ฟ้า ตึกสันติไมตรี และตึกนารีสโมสร เป็นต้น